วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทงเก้าช่อง…แต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์)

ชาวอีสานเรานั้นเชื่อถือเรื่องโชคลางและบาปกรรมกันมาเป็นเวลานานมาแล้ว ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่า เมื่อเรามีเคราะห์หรือทุกข์ร้อนต่างๆ นาๆ วิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาสิ่งเลวร้ายต่างๆ ให้ทุเลาเบาบางลงไปได้นั้นก็คือการแต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์)  นายทองสา  สุดตา  ปราชญ์ประจำหมู่บ้านหนองปิง ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า  การแต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์) ของชาวอีสาน  มีมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณ  โดยเหตุที่ทำให้เกิดการแต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์) ขึ้นนั้นเนื่องมาจากตัวของบุคคลเองที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นกับชีวิต  ฝันร้าย  หรือมีลางบอกเหตุต่างๆเกิดขึ้นจึงต้องมีการทำพิธีกรรมตามความเชื่อแบบชาวอีสานอย่าง การแต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์) เพื่อบรรเทาทุกข์ร้อนต่างๆออกไปจากชีวิต  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีหลายรูปแบบแต่โดยทั่วไปแล้วจะนิยมแต่งแก้ด้วยเครื่องสักการะที่ชื่อว่า  ทงเก้าช่อง  ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ  เพราะเชื่อว่าเป็นการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและเคราะห์กรรมต่างๆให้หายไป  และยังเป็นการต่อชะตาชีวิต  เสริมดวงให้มีความเป็นสิริมงคลอีกด้วย



วัสดุอุปกรณ์
1 ตัวทง
1.กาบกล้วย                                                     
2.ไม้ไผ่เหลา 9 แท่ง
3.เศษผ้า/เส้นด้ายสีต่างๆ                                                 
4.ยอดกล้วยและยอดอ้อย
5.เทียนยาว 1 ศอก 1 เล่ม                                      
6.หุ่นคนจากกาบกล้วย 2 ตัว      
7.เทียนไข 1 เล่ม                                                
8.ไข่ไก่ดิบและขันธ์ 5               
         
2 เครื่องสักการะในทงหนึ่งช่อง
1.ข้าวดำ          1 คำ                               
2.ข้าวแดง 1 คำ
3.ข้าวเหลือง 1 คำ                                     
4.ข้าวเหนียวนึ่ง 1 คำ    
5.หมากพลู 9 จีบ (ใช้แก่นคูนแทนหมากก็ได้)        
6.ยาเส้น 9 กรอก
7.ปลาแห้ง                                             
8.รูปสัตว์ (กระดาษ) 1 ชนิด       
9.กรวยใบฝรั่ง 9 กรวย                                
10.เมี่ยงข่า 1 ไม้ (1 ไม้มี 9 ห่อ )

11.ข้าวตอก

 การทำทงเก้าช่อง
1 ทำเครื่องสักการะ
1.ทำข้าวดำ  โดยการคั่วงาให้ไหม้แล้วนำมาตำกับข้าวเหนียวนึ่งและน้ำตาลทรายแดง
       2.ทำข้าวเหลือง  โดยการคั่วงาให้เป็นสีน้ำตาลอ่อนแล้วนำมาตำกับข้าวเหนียวนึ่งและน้ำตาลทรายแดง
3.ทำข้าวแดง  โดยการนำขมิ้นมาผสมกับปูนขาวแล้วนำมาตำกับข้าวเหนียวนึ่งและน้ำตาลทรายแดง
4.พันพลูที่ทาปูนขาวแล้ว  จากนั้นมัดรวมกับหมากหรือแก่นคูน
5.พันยาเส้น
6.ตำเมี่ยงข่า  จากนั้นห่อด้วยใบมะยมแล้วเสียบไม้
7.ทำกรวยใบฝรั่งแล้วกลัดด้วยไม้
8.ตัดกระดาษเป็นรูปสัตว์ 9 ชนิด (ช้าง, ม้า, หมู, สุนัข, แร้ง, กา, เป็ด, ไก่, ควาย)
9.ทำข้าวตอก


ทงเก้าช่องใช้สำหรับแต่งแก้สะเดาะห์เคราะห์ซึ่งชาวอีสานนิยมทำกัน  หมากพลูเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของทงเก้าช่อง

    ทงเก้าช่องใช้สำหรับแต่งแก้สะเดาะห์เคราะห์ซึ่งชาวอีสานนิยมทำกัน  ยาสููบเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของทงเก้าช่อง

ทงเก้าช่องใช้สำหรับแต่งแก้สะเดาะห์เคราะห์ซึ่งชาวอีสานนิยมทำกัน  กรวยใบฝรั่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของทงเก้าช่อง



2 ประกอบตัวทง    
1. ลอกกาบกล้วยให้ได้ความยาว 1 ต้นกล้วย
2.ประกอบกาบกล้วยให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ทำฐาน  และแบ่งให้ได้ 9 ช่อง
3.ทำไม้ไผ่เหลาแต่ละแท่งให้เป็นรอยบัก 9 บัก
4.นำเศษผ้า 9 สีใส่ตามรอยบัก
5.ปักไม้ไผ่เก้าบักทั้ง 9 แท่งไว้รอบๆขอบทงเก้าช่อง  และปักไว้กลางทง 1 แท่ง
6.ใส่เครื่องสักการะทั้ง 11 อย่างลงในทงแต่ละช่อง  จนครบเก้าช่อง
7.นำรูปสัตว์ต่างๆมาใส่ในทงเก้าช่อง
8.ปักยอดกล้วย  ยอดอ้อย  และเทียนไขให้เรียบร้อย
9.นำทงเก้าช่องไปทำพิธีกรรม และนำไปวางไว้ตามทิศต่างๆบริเวณนอกหมู่บ้านเมื่อพิธีกรรมเสร็จสิ้น

ทงเก้าช่องใช้สำหรับแต่งแก้สะเดาะห์เคราะห์ซึ่งชาวอีสานนิยมทำกัน

อ้างอิง  โครงงาน  เรื่อง  การตัดต่อวีดิโอ  ทงเก้าช่องแต่งแก้ (สะเดาะเคราะห์) ด้วยโปรแกรม Sony  vegas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น