คำว่าฮีต ตรงกับศัพท์บาลีว่า จาริตตะ
สันสกฤตว่า จาริตระ แปลว่า
ขนบธรรมเนียม แบบแผน ความประพฤติดีงาม หรือประเพณีฮีตนั้นมี 12
อย่าง
หรือประเพณีทำบุญสิบสองเดือน
มีดังต่อไปนี้
1.บุญเข้ากรรม
ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเลส
ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นอาบัติญาติโยมผู้หวังบุญกุศลไปบริจาคทานรักษาศีล
ฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุเรียกว่าบุญเข้ากรรมกำหนดเอาเดือนอ้ายเป้นเวลาทำจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำกันกำหนดเอาวันขึ้น 15
ค่ำ
เพราะมีกำหนดทำในระหว่างเดือนอ้าย
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
บุญเดือนอ้าย(ธันวาคม)
2.บุญคูณลาน
สถานที่ที่ทำสำหรับนวดข้าวเรียกว่าลาน การนำเอาข้าวที่นวดแล้วมากองขึ้นให้สูง เรียกคูณลาน
ชาวนาที่ทำนาได้ผลเมื่อต้องการบำเพ็ญกุศล
มีให้ทานเป็นต้น
ก็จัดเอาลานเป็นสถานทำบุญ
การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกบุญคูณลาน
กำหนดเอาเดือนยี่(มกราคม)เป็นเวลาทำเพราะมีกำหนดการทำในเดือนยี่(มกราคม)จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนยี่
3.บุญข้าวจี่
ข้าวเหนียวที่ปั้นโรยเกลือทาไข่ไก่ แล้วจี่ไฟให้สุกเรียกข้าวจี่ การทำบุญมีให้ทานข้าวจี่ เป็นต้น
เรียกบุญข้าวจี่
การทำบุญข้าวจี่มีคนนิยมทำกันมาก
เพราะถือว่าได้บุญกุศลมาก
และเป็นกาละทานชนิดหนึ่ง
เวลาทำกำหนดเอาเดือนสาม(กุมภาพันธ์)
เพราะมีกำหนดเช่นนี้
จึงเรียกบุญเดือนสาม
4.บุญพระเวส
บุญที่มีการเทศน์พระเวสหรือมหาชาติ เรียกบุญพระเวส หนังสือมหาชาติหรือเวสสันดรชาดก
เป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยชาติเป็นเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาวมี 14
ผูก
บุญพระเวสสันดรกำหนดทำในเดือนสี่(มีนาคม)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบุญเดือนสี่
5.บุญสรงน้ำ
การรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่เรียก สรงน้ำ
การทำบุญมีให้ทานเป็นต้น
เกี่ยวแก่การสรงน้ำเรียกบุญสรงน้ำอีกอย่างหนึ่งว่า ตรุษสงกรานต์ ตรุษคือสิ้น สงกรานต์คือการเคลื่อนย้าย ได้แก่
วันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาวก้าวขึ้นไปสู่ฤดูร้อน ในระยะนี้เรียกตรุษสงกรานต์ กำหนดเอาวันขึ้น สิบห้า ค่ำ เดือน ห้า(เมษายน) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนห้า
6.บุญบั้งไฟ
การเอาดินประสิวมาคั่วผสมกับถ่านตำให้แหลกเรียกว่า หมื่อ
เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นแล้วเจาะรู เรียกบั้งไฟ
การทำบุญมีให้ทานเป็นต้น
เกี่ยวแก่การทำบั้งไฟ
เรียกบุญบั้งไฟ
กำหนดเอาเดือนหก(พฤษภาคม)เป็นเวลาทำ
เรียกอีกชื่อว่าบุญเดือนหก
7.บุญชำฮะ
การชำระล้างสิ่งที่สกปรกรกรุงรัง ให้ปราศจากมลทินโทษ เรียกการชำฮะ
สิ่งที่ต้องชำระล้างในที่นี้ได้แก่เมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกมาทำลาย มีโจรมีมารมาปล้นเกิดรบราฆ่าฟันกันแย่งกันเป็นใหญ่
ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตายลงเพราะผีเข้าเจ้าสูญถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาดจำต้องชำระให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีให้ทานเป็นต้น
กำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจ็ด(มิถุนายน)เรียกอีกชื่อว่า บุญเดือนเจ็ด
8.บุญเข้าพรรษา
การอยู่ประจำในอาวาสแห่งเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝนเรียก เข้าพรรษา
โดยปกติกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำ
เดือนแปด(กรกฎาคม)เป็นวันเข้าพรรษา
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
บุญเดือนแปด
9.บุญข้าวประดับดิน
การห่ออาหารและของคี้ยวเป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายทานบ้าง ไปแขวนไว้ตามต้นไม้บ้างแล้วเรียกชื่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับมารับเอาไป เรียกข้าวประดับดิน การทำบุญมีให้ทานและรักษาศีล มีกำหนดทำในเดือนเก้า(สิงหาคม)จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนเก้า
10.บุญข้าวสาก
การเขียนชื่อใส่ลงในพาข้าว(สำรับ) เรียกข้าวสาก (สลาก) การทำบุญมีการให้ทาน เป็นต้น
มกำหนดการทำในเดือนสิบ(กันยายน)
มีขื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
บุญเดือนสิบ เป็นการทำบุญสลากภัต
11.บุญออกพรรษา
การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกออกพรรษา พรรษาหมายถึงฤดูฝน ปีหนึ่งมี 4 เดือน คือตั้งแต่แรม
1 ค่ำ เดือน 8
ถึง 15
ค่ำ เดือน 12
ในระยะ 4-3 เดือนต้น ให้เข้าพรรษาก่อนเข้าครบกำหนด 3
เดือน แล้วให้ออกอีก 1 เดือน ให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยน ผู้คนต้องนำจีวรและเทียนพรรษาไปถวาย การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น
มีกำหนดการทำในระหว่างเดือนสิบเอ็ด
เรียกอีกชื่อว่า บุญเดือนสิบเอ็ด
12.บุญกฐิน
ผ้าที่ใช้สะดึงเป็นกรอบขึงเย็บจีวรเรียกผ้ากฐิน ผู้ที่มีศรัทธาปรารถนาจะถวายกฐิน วัดใดวัดหนึ่ง
ให้เขียนสลาก(ใบจอง)
ไปติดไว้ผนังโบสถ์บอกชื่อตัว ชื่อสกุล ตำแหน่งและที่อยู่ของตนให้ชัดเจน
ผ้ากฐินนี้มีกำหนดเวลาทำถวายเพียงหนึ่งเดือน ตั้งแต่แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึง
เพ็ญเดือนสิบสิบสอง
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
บุญเดือนสิบสอง
*อ้างอิง : หนังสือประเพณีโบราณไทยอีสาน โดยปริญญาณ
ภิกขุ(ดร.ปรีชา พิณทอง)